messager
 
เทศบาลตำบลห้วยทราย info_outline ข้อมูลการติดต่อ folder มาตรการประหยัดพลังงาน folder สื่อการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
place ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน
เทศบาลตำบลห้วยทราย เดิมเป็นสภาตำบลห้วยทราย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบลห้วยทราย พ.ศ. 2537และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539ได้ยกฐานะสภาตำบลตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบลห้วยทราย พ.ศ. 2537 (ประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 53 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539) เป็นผลให้สภาตำบลห้วยทรายเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย ตั้งแต่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบลห้วยทราย พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบลห้วยทราย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒)พ.ศ.๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลห้วยทราย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ และอาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดตำแหน่งผู้บริหารเทศบาล(แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓ ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ จึงขอประกาศการปรับขนาดเทศบาลตำบลห้วยทรายจากขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖เป็นต้นไป 1.1 ที่ตั้ง ตำบลห้วยทรายอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ติดต่อกับส่วนต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลร้องวัวแดงและตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสหกรณ์ อำเภอแม่ออนจังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง และตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 1.2 เนื้อที่ ตำบลห้วยทราย มีเนื้อที่ประมาณ 46.35 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,678 ไร่ มีหมู่บ้านในการปกครอง จำนวน 8 หมู่บ้าน 1.3 ประชากร ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 8 หมู่บ้าน และมีจำนวนประชากร 5,991 คน ชาย 2,884 คน หญิง 3,107 คน 1.4 ภูมิประเทศ เทศบาลตำบลห้วยทราย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดชายเขา มีความลาดชันปานกลาง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 เมตร ลาดเอียงมาทางทิศตะวันตกมีพื้นที่ป่าและอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพริก เหมาะสำหรับการฟื้นฟูเป็นสถานที่พักผ่อน หรือ เป็นแหล่งท่องเที่ยว 2. สภาพทางเศรษฐกิจ 2.1 อาชีพ อาชีพหลัก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการรับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น งานหัตถกรรมจากผ้า ไม้ไผ่และไม้เนื้ออ่อน เครื่องปั้นดินเผา ของที่ระลึกต่างๆ เปลี่ยนจากภาคเกษตรกรรมมาทำอาชีพหัตถกรรม เนื่องจากอาชีพเกษตรกรรมต้องใช้เวลานานและอาศัยภูมิประเทศและภูมิอากาศและต้องหาตลาดรองรับสินค้าให้ทันเวลา เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายจากสินค้า สินค้าเน่าเสีย สินค้าราคาตกต่ำ เนื่องจากสินค้าผลิตออกมามาก แต่ถ้าสินค้าราคาสูงขึ้นก็ไม่สามารถ ผลิตสินค้าได้ทันต่อความต้องการ ต่างจากสินค้าหัตถกรรม สินค้าสามารถผลิตได้ทันต่อความต้องการ ถ้าต้องการสินค้ามาก สามารถผลิตได้ทุกฤดูกาล สินค้าไม่เน่าเสีย สามารถเก็บไว้ได้นาน เมื่อไม่มีความต้องการของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ และการเปลี่ยนอาชีพอาจเนื่องจากประชาชนมีความรู้สูงขึ้น ทำให้นำความรู้ที่ได้ มาปรับใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเหล่านั้น อาชีพรอง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรอง คือ ได้เปลี่ยนจากการรับจ้าง อุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น งานหัตกรรมจากผ้า ไม้ไผ่ และไม้เนื้ออ่อน เครื่องปั้นดินเผา ของที่ระลึกต่างๆ มาทำอาชีพเกษตรกรรมแทน เนื่องจากอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ใช้ฝีมือ ไม่ใช้ทักษะ ไม่ใช้ความรู้อาศัยเพียงภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่เหมาะสมเท่านั้น จุดยืนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเทศบาลตำบลห้วยทราย ศักยภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลห้วยทราย มีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการพัฒนาด้านการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสามารถเดินทางติดต่อระหว่างหมู่บ้านได้สะดวก มีถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ชม.6021 สันกำแพง – ป่าไผ่ ตัดผ่าน ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกร และมีวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นของตัวเอง มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพการเกษตรทำให้ง่ายต่อการรวมกลุ่มพัฒนาด้านอื่นๆ เนื่องด้วยมีลำคลองชลประทานที่ส่งน้ำจากเขื่อนแม่กวง สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หนองเงือก หนองซิว และอ่างเก็บน้ำแม่ตาดและอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำพริกสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอเป็นแหล่งต้นทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ อย่างต่อเนื่องมีการก่อตั้งรวมกลุ่มของเกษตรกรในการหารายได้เสริมในครัวเรือนโดยการหันมาทำ การเกษตรตามแนวชีวภาพปลอดสารพิษ ประกอบกับผู้บริหารท้องถิ่นมีนโยบายเร่งด่วนที่ต้องการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ การส่งเสริมการเกษตรเป็นนโยบายหลักที่ต้อง เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้งภายในและปัจจัยภายนอกแล้ว เทศบาลตำบลห้วยทรายจะสามารถให้บริการประชาชนในพื้นที่ให้สามารถมีน้ำใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค โดยบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งร่วมกับกลุ่มภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชนอย่างยั่งยืน ประชาชนสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้ประเทศไทยเป็นคลังอาหารโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ“พอดี พอประมาณ สมดุล เหมาะสมตามศักยภาพพออยู่พอกิน ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพด้านการเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน